UFABETWIN อิรัก-คูเวต : คู่แค้นแห่งตะวันออกกลางที่สูญเสียทุกอย่างในโลกฟุตบอลหลังสงคราม

UFABETWIN

สงครามคือสิ่งเลวร้ายที่สามารถสร้างผลกระทบมากมายโดยไม่มีที่สิ้นสุด ผลลัพธ์อันเกิดจากการรุกราน ยูเครน ของ รัสเซีย ถือเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นแล้วว่าสงครามสามารถสร้างผลเสียได้มากเพียงใด

มีอีกสองประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามมากที่สุดนั่นก็คือ อิรัก และ คูเวต อดีตสองเศรษฐีน้ำมันแห่งตะวันออกกลาง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นหมายเลขหนึ่งในโลกกีฬามายาวนานถึง 2 ทศวรรษ และการแข่งขันของทั้งคู่ถือเป็นหนึ่งในคู่ปรับที่ร้อนแรงที่สุดในโลกฟุตบอล

แต่หลังจากสงครามอ่าวเปอร์เซียปะทุขึ้นในปี 1990 โชคชะตาของทั้งสองประเทศได้เปลี่ยนไปตลอดกาล จากการแข่งขันของมหาอำนาจลูกหนังประจำภูมิภาคสู่เส้นทางที่ร่วงหล่น จนทำให้ทั้งสองชาติไม่โคจรมาพบกันอีกเป็นระยะเวลา 15 ปี

การต่อสู้บนสมรภูมิลูกหนัง

สงครามอ่าว ถือเป็นจุดพีคของความขัดแย้งระหว่างอิรักและคูเวต แต่ถ้าหากพูดถึงเวทีการแข่งขันกีฬาระหว่างทั้งสองชาติซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานและมีความดุเดือดไม่แพ้กัน กีฬาฟุตบอล ถือเป็นหนึ่งในนั้น โดยอิรักและคูเวตถูกยกย่องให่เป็นคู่ปรับที่ดุเดือดที่สุดในโลกฟุตบอล ตั้งแต่ก่อนสงครามอ่าวจะปะทุขึ้นหลายสิบปี

เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าอิรักและคูเวตถือเป็นสองชาติที่ครองความเป็นมหาอำนาจในโลกลูกหนังในตะวันออกกลางมาตลอดช่วงทศวรรษ 1970s-90s โดยในการแข่งขันฟุตบอลระดับภูมิภาคอย่าง อาราเบียน กัลฟ์ คัพ ทั้งสองชาติต่างผลัดกันคว้าแชมป์ตลอดช่วง 20 ปีแรกของรายการการแข่งขัน โดยไม่มีชาติอื่นก้าวเข้ามาแทรกได้เลย

คูเวต ถือเป็นทีมหมายเลขหนึ่งของภูมิภาค เนื่องจากเป็นทีมแรกที่คว้าแชมป์อาราเบียน กัลฟ์ คัพ มาครองจากการแข่งขันในปี 1970 ก่อนคว้าแชมป์มาครองได้อีก 6 ครั้ง ในปี 1972, 1974, 1976, 1982, 1986 และ 1990 ส่วน อิรัก ตามมาเป็นอันดับสองด้วยการคว้าแชมป์ 3 สมัย 1979, 1984, 1988

 

UFABETWIN

แต่ถึงคูเวตจะประกาศความยิ่งใหญ่ในภูมิภาคในฐานะหมายเลขหนึ่ง พวกเขาไม่เคยชนะอิรักเป็นเวลานานกว่าสิบปี นับตั้งแต่ทั้งสองชาติพบกันครั้งแรกในเกมกระชับมิตรเมื่อปี 1964 ซึ่งอิรักเป็นฝ่ายคว้าชัยด้วยสกอร์ 1-0 หลังจากนั้นทั้งสองชาติได้เจอกันอีก 7 ครั้ง อิรักชนะถึง 5 และเสมออีก 2

กว่าคูเวตจะเอาชนะอิรักได้ครั้งแรกต้องรอถึงการแข่งขันกัลฟ์ คัพ 1976 รอบชิงชนะเลิศ โดยก่อนหน้านั้น ทั้งสองพบกันมาแล้วในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มซึ่งผลจบลงด้วยการเสมอ 2-2 ก่อนที่คูเวตจะได้ลิ้มรสชัยชนะครั้งแรกในอีกหกวันถัดมา

ประตูชัยของคูเวตในนาที 85 และเป็นประตูแฮตทริกของ อับดุลลาลาซิส อัล อันเบรี ได้รับการสรรเสริญจากนักพากย์คูเวตด้วยคำว่า (พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่) หลังกองหน้ารายนี้ลากบอลครึ่งสนามไปซัดเป็นประตู ทำให้การยิงประตูครั้งนี้ยังเป็นโมเมนต์ที่น่าจดจำที่สุดในฟุตบอล กัลฟ์ คัพ จนถึงปัจจุบัน

ชัยชนะครั้งดังกล่าวคือการประกาศความยิ่งใหญ่ของคูเวตเหนืออิรักอย่างเป็นทางการบนโลกฟุตบอล ก่อนจะย้ำแค้นอีกครั้งในอีกสองเดือนถัดมา เมื่อคูเวตเอาชนะอิรักในการแข่งขันเอเชียน คัพ 1976 รอบรองชนะเลิศ ด้วยสกอร์ 3-2 โดยทั้งสองชาติเสมอในเวลาปกติ 2-2 จึงต้องมาตัดสินกันในช่วงต่อเวลาพิเศษท่ามกลางการปะทะกันอย่างหนักหน่วงของนักบอลทั้งสองฝ่าย และกลายเป็นคูเวตที่คว้าชัยไปได้สำเร็จ

ความดุเดือดที่ดูจะเหมือนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ได้ปะทุถึงจุดแตกหักในการแข่งขันรอบเพลย์ออฟเพื่อหาทีมเข้าแข่งขันในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 1980 ที่กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต ท่ามกลางสายตาแฟนบอลราว 65,000 คน นักเตะทั้งสองฝ่ายต่างพากันเล่นนอกเกม มีการทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนถึงขั้นออกหมัด แต่ถึงจะวุ่นวายมากแค่ไหนความสนุกในการแข่งขันก็ไม่เคยลดน้อยลงไป

อิรักซึ่งเป็นฝ่ายขึ้นนำก่อนถึงสองประตูถูกคูเวตรัวสามประตูรวดภายในเวลา 13 นาที ส่งผลให้คูเวตเป็นฝ่ายคว้าชัยชนะด้วยสกอร์ 3-2 นี่คือเกมที่ถูกพูดถึงมาจนปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมของ อูเดย์ ฮุสเซน ลูกชายสุดโหดของ ซัดดัม ฮุสเซ็น ซึ่งรับไม่ได้กับความพ่ายแพ้ครั้งนี้ของทีมชาติอิรัก จนนำมาสู่บทเรียนสุดโหดที่นักบอลรุ่นหลังจะได้เจอ เมื่ออูเดย์เข้ารับตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลอิรักในปี 1984

อิรักและคูเวตยังคงแย่งชิงความยิ่งใหญ่ในวงการฟุตบอลอย่างต่อเนื่องหลังจากนั้น โดยการผลัดกันคว้าแชมป์ กัลฟ์ คัพ ช่วงปี 1988 และ 1990 เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเข้มข้นของการแข่งขันที่ไม่ลดน้อยลงไปจากเมื่อสิบปีก่อน หลายฝ่ายเชื่อว่าการขับเคี่ยวของสองชาติจะคงอยู่ตลอดกาล จนกระทั่งการเกิดขึ้นของสงครามอ่าวซึ่งจะเปลี่ยนโชคชะตาของวงการฟุตบอลทั้งสองชาติไปตลอดกาล

ความขัดแย้งในสงครามอ่าว

ความบาดหมางระหว่างอิรักและคูเวตเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการในเหตุการณ์ที่เรียกว่า สงคราวอ่าว หรือ ซึ่งถือเป็นความขัดแย้งระดับนานาชาติครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1990-91 โดยเริ่มต้นหลังจากกองทัพอิรักภายใต้การนำของประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซ็น บุกเข้าโจมตีคูเวตเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปี 1990

กลิ่นอายความตึงเครียดระหว่างทั้งสองชาติเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 1990 หลังอิรักแสดงท่าทีต่อคูเวตในฐานะศัตรูของประเทศอย่างชัดเจน โดยในวันที่ 17 กรกฎาคม ฮุสเซ็นกล่าวโจมตีคูเวตและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ว่ามีการส่งออกน้ำมันมากกว่าโควตาที่ (องค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก) กำหนดให้แต่ละชาติ ก่อนที่ในวันต่อมาคูเวตจะถูกกล่าวหาว่าขโมยน้ำมันจากอิรัก

ข้อกล่าวหาของซัดดัมก่อให้เกิดความตรึงเครียดบริเวณชายแดนของสองประเทศ มีการตรึงกำลังทหารตามแนวชายแดนเพื่อรอรับมือกับสงครามที่อาจมาถึงในไม่ช้า ทั้งสองประเทศพยายามแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการนัดประชุมเพื่อหาข้อสรุปกันในประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่ท้ายที่สุด การเจรจายุติลงในวันที่ 1 สิงหาคม และนี่คือสัญญาณครั้งสุดท้ายซึ่งแสดงถึงสงครามสงครามที่กำลังเกิดขึ้น

ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้นอิรักตัดสินใจส่งกองทัพเข้ารุกรานดินแดนของคูเวตในทันที ทั้งที่ซัดดัมได้ให้คำมั่นกับ ฮุสนีย์ มุบาร็อค ประธานาธิบดีของอียิปต์ และหนึ่งในผู้มีอำนาจมากที่สุดของประวัติศาสตร์โลกอาหรับ การผิดสัญญาของฮุสเซ็นในครั้งนั้นแสดงให้เห็นถึงแผนการณ์ของอิรักซึ่งต้องการเข้ารุกรานและครอบครองคูเวตมาเป็นระยะเวลานานแล้ว เพื่อยึดครองทรัพยากรน้ำมันมหาศาลที่อยู่ในคูเวต

ยิ่งไปกว่านั้นการเข้ายึดครองคูเวตยังเป็นการเพิ่มอำนาจของอิรักในตะวันออกกลาง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการคานอำนาจของ อิหร่าน อีกหนึ่งมหาอำนาจในตะวันออกกลางและศัตรูตัวฉกาจของอิรัก การรุกรานคูเวตยังเป็นการส่งสัญญาณต่อ สหรัฐอเมริกา และ หรือ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ว่าอิรักพร้อมจะใช้ความรุนแรงทางทหารเพื่อตอบโต้กับทุกความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง

สงครามอ่าวถือเป็นวิกฤตการณ์ระดับนานาชาติครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง โดยเพียงแค่ 14 ชั่วโมงแรกของการรุกรานมีชาวคูเวตถูกสังหารถึง 4,200 ราย และภายใน 36 ชั่วโมงของการโจมตีอิรักสามารถเข้ายึดครอง คูเวต ซิตี้ เมืองหลวงของประเทศคูเวตได้สำเร็จ

ราชวงศ์ซาบาห์อันเป็นผู้ปกครองประเทศ พร้อมด้วยประชาชนชาวคูเวตราว 350,000 คนได้ลี้ภัยไปยังซาอุดีอาระเบีย ขณะที่อิรักซึ่งปกครองคูเวตอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้มีการแต่งตั้งรัฐบาลชุดใหม่อันเป็นหุ่นเชิดของอิรัก ขณะเดียวกันทหารอิรักได้ปฏิบัติกับชาวคูเวตอย่างโหดเหี้ยม มีการปล้นชิง, ข่มขืน, ทรมาน และฆาตกรรมชาวคูเวตเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน

นานาชาติต่างประณามการกระทำของอิรัก และมีการประชุมกันอย่างเป็นทางการโดยบรรดาสมาชิกของนาโต้ จนได้ข้อสรุปว่า อิรักต้องถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากคูเวตภายในวันที่ 15 มกราคม 1990 ก่อนที่สหรัฐอเมริกา รวมถึงกองกำลังของนาโต้ จะบุกเข้าไปยังอ่าวเปอร์เซีย เพื่อเปิดฉากสงครามขับไล่อิรักอย่างจริงจัง

แน่นอนว่าคำขู่ของโลกตะวันตกไม่ได้ผล อิรักไม่ยอมถอนกองกำลังแม้เส้นตายผ่านพ้นไป สหรัฐอเมริกาจึงยกกองทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยจำนวนทหาร 450,000 นาย เข้าสู่บริเวณอ่าวเปอร์เซีย นอกจากนี้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยังไฟเขียวให้กองกำลังทหารทั่วโลกเข้าโจมตีอิรัก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นนับตั้งแต่การตอบโต้เกาหลีเหนือที่โจมตีเกาหลีใต้ในปี 1950

สหรัฐอเมริกาโจมตีอิรักด้วยปฏิบัติการพายุทะเลทราย ซึ่งเริ่มต้นด้วยการทิ้งระเบิดใส่กองกำลังทหารอิรักทั้งทางอากาศและทางเรือเป็นเวลาต่อเนื่องกัน 5 สัปดาห์ก่อนจะโจมตีด้วยกองกำลังภาคพื้นดินตามปฏิบัติการกระบี่ทะเลทราย ซึ่งใช้เวลาเพียง 100 ชั่วโมงก็สามารถทำให้ทหารอิรักทั้งหมดในคูเวตยอมแพ้ได้สำเร็จ

สงครามอ่าวจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี 1991 หลังอิรักถอนกำลังจากคูเวต และราชวงศ์ซาบาห์ได้กลับมาปกครองแผ่นดินแห่งนี้ตามเดิมอีกครั้ง แต่เนื่องจากผลกระทบของสงครามที่เกิดขึ้นคูเวตและอิรักต่างเกิดความสูญเสียอย่างหนักไปถึงระดับโครงสร้าง นี่จึงเป็นบาดแผลที่อยู่ในใจชาวคูเวตตลอดมา และไม่เคยถูกลบเลือนไปแม้ในปัจจุบัน

ผลกระทบจากกระสุนปืน

ดังที่บอกไปว่าสงครามอ่าวสร้างความเสียหายแก่คูเวตและอิรักไปถึงระดับโครงสร้าง เกมฟุตบอลที่เคยเป็นความสำคัญของผู้คนทั้งสองชาติต้องถูกลดความสำคัญลงไปให้เป็นเรื่องรอง เพราะมีผลกระทบอีกนานับประการที่ต้องได้รับการแก้ไขหลังจากสงครามจบลง

หนึ่งในนั้นคือการเฝ้าระวังความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ เพราะไม่ว่าอิรักและคูเวตจะแข่งขันกันมากแค่ไหนในสนามฟุตบอล พวกเขาคือเพื่อนบ้านที่ดีต่อกันเสมอมา แต่หลังจากสงครามอ่าวสิ้นสุดลงในปี 1991 ท่าทีของ ซัดดัม ฮุสเซ็น ต่อชาติที่เขามองว่าเป็นศัตรูกับอิรักก็มีแต่จะรุนแรงขึ้น นั่นหมายความว่า คูเวตยังคงเสี่ยงอันตรายที่จะถูกโจมตีโดยอิรักในแทบทุกวินาที

เพื่อตัดไฟตั้งแต่ต้นลมอิรักและคูเวตจึงถูกสั่งห้ามไม่ให้โคจรกลับมาเจอกันในโลกฟุตบอลเป็นเวลายาวนานถึง 15 ปี โดยอิรักเป็นชาติที่ถูกคว่ำบาตรจากการแข่งขัน กัลฟ์ คัพ ซึ่งคูเวตใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีก็สามารถทวงคืนความแข็งแกร่งในวงการฟุตบอลกลับมา โดยพวกเขาคว้าแชมป์ กัลฟ์ คัพ มาครองได้อีกครั้งในปี 1996 และ 1998

ส่วนวงการฟุตบอลของอิรักถอยหลังลงอย่างมาก นับตั้งแต่ อูเดย์ ฮุสเซน เข้ามาครองอิทธิพลในวงการลูกหนัง และพร้อมจะลงโทษนักฟุตบอลทุกคนที่ล้มเหลวด้วยวิธีการป่าเถื่อนเกินจินตนาการ และเนื่องจากบาดแผลในใจที่เขาเห็นคูเวตเอาชนะทีมชาติอิรักกับตา ไม่ต้องสงสัยเลยว่าลูกชายของผู้นำเผด็จการจะกล้าทำอะไรบ้างหากอิรักโคจรมาพบกับคูเวตอีกครั้ง

อิรักและคูเวตจึงหมดสิทธิ์จะโคจรมาพบกันจนกว่าตระกูลฮุสเซ็นจะสิ้นอำนาจ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นในวันที่ 9 สิงหาคม 2003 หลังทหารสหรัฐอเมริกาเข้าจับกุม ซัดดัม ฮุสเซ็น ได้สำเร็จ ส่วน อูเดย์ ได้เสียชีวิตไปแล้วหนึ่งเดือนก่อนหน้านั้น เนื่องจากต่อต้านการถูกจับกุม จึงถูกทหารสหรัฐฯ กระหน่ำยิงจนเสียชีวิตในวันที่ 22 กรกฎาคม 2003

ทั้งสองชาติจึงได้กลับมาพบกันบนเวทีฟุตบอลอีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1990 ในเกมกระชับมิตร เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2005 ซึ่งนี่อาจจะเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่ผลลัพธ์ 0-0 ไม่ได้มีความสำคัญเท่ากับการที่หนึ่งในสุดยอดคู่ปรับตลอดกาลของโลกฟุตบอลได้กลับมาพบกันอีกครั้ง

แต่ถึงแม้ทั้งสองชาติจะหวนมาเจอกันในสนามฟุตบอลอีกครั้ง วงการลูกหนังของทั้งสองชาติก็ไม่เคยกลับมาเหมือนเมื่อวันวานก่อนสงครามอ่าวจะเริ่มต้น เนื่องจากการเมืองได้เข้ามาแทรกซึมจนเป็นส่วนหนึ่งของวงการฟุตบอลทั้งสองชาติ จนทำลายความน่าสนใจของการแข่งขันไปหมดสิ้น

หนังสือ ทำไมอังกฤษแพ้และปรากฏการณ์ฟุตบอลอื่น ๆ ที่อยากรู้อยากเห็นอธิบาย ที่เขียนเมื่อปี 2009 ได้เคยพูดถึงประเด็นนี้ว่า หากมองผลงานของอิรักในช่วงปี 1980 ถึง 2001 ซึ่งถือเป็นยุคมืดของฟุตบอลอิรัก เนื่องจากอยู่ใต้อำนาจของตระกูลฮุสเซ็น พวกเขายังสามารถทำผลงานได้น่าประทับใจในระดับหนึ่ง จึงไม่แปลกใจเลยที่อิรักจะกลับมาคว้าแชมป์เอเชียน คัพ ได้อย่างรวดเร็ว ในปี 2007

 

UFABETWIN

โชคร้ายที่คูเวตไม่ได้ประสบชะตากรรมเดียวกับอิรัก เพราะหลังจากคว้าแชมป์กัลฟ์ คัพ สองสมัยซ้อนในปี 1996 และ 1998 ฟุตบอลของคูเวตได้ถูกลดความสำคัญลงไป จนกลายเป็นแค่ทีมระดับกลางค่อนไปทางล่างของตะวันออกกลาง กว่าจะกลับมาสู่ความสำเร็จอีกครั้งต้องรอถึงปี 2010 เมื่อพวกเขาคว้าแชมป์ กัลฟ์ คัพ สมัยที่ 10 มาครองได้

เพื่อหลีกเลี่ยงบาดแผลที่เคยเกิดขึ้นในอดีต การเจอกันระหว่างทั้งสองชาติจึงเป็นไปในท่าทีที่เป็นมิตรมากขึ้น โดยเริ่มมีการโปรโมตการแข่งขันระหว่างทั้งคู่ในฐานะศึกสายเลือดระหว่างพี่น้องตะวันออกกลาง มากกว่าจะชูการเป็นคู่แข่งร่วมภูมิภาคที่จำเป็นต้องเอาชนะเพียงอย่างเดียว

“มันให้ความรู้สึกเหมือนกับพี่น้องที่กลับมาพบหน้าแล้วแบ่งปันช่วงเวลาแห่งความสุขร่วมกันอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประวัติศาสตร์ที่เรามีร่วมกันมาในสงครามอ่าว” แฟนบอลชาวคูเวตรายหนึ่งให้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกที่ทีมชาติคูเวตกลับไปเล่นฟุตบอลที่อิรักเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี เมื่อเดือนมกราคม 2021 ที่ผ่านมา

“ผมต้องการให้ผู้คนมองว่าชาวอิรักน่ามหัศจรรย์ไม่ต่างจากชาวคูเวต ผมอยากให้ทุกคนตระหนักได้ว่าเราคือพี่น้องกัน และเราควรจะมีความสัมพันธ์กันมากกว่านี้ ทั้งในโลกกีฬาและโลกแห่งความเป็นจริง”

ปัจจุบัน อิรัก และ คูเวต พยายามจะค้นหายุคทองที่สองของตัวเองต่อไป แฟนฟุตบอลของทั้งสองชาติยังคงคาดหวังว่าพวกเขาจะกลับไปสู่ความเรืองรองในยุค 70s และ 80s อีกครั้ง ซึ่งเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านั่นคือช่วงเวลาที่การแข่งขันระหว่างคูเวตและอิรักมีความสนุกน่าตื่นเต้นมากที่สุด และอาจกล่าวได้ว่าเป็นคู่ปรับที่มีความเข้มข้นที่สุดในโลกก็ว่าได้

น่าเสียดายที่สงครามเปลี่ยนโชคชะตาของวงการฟุตบอลอิรักและคูเวตไปอีกทาง ทั้งสองชาติจึงยังคงอยู่บนเส้นทางกลับสู่ความรุ่งเรืองอีกครั้งด้วยสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป เราได้แต่หวังว่าพวกเขาจะกลับมาสู่ช่วงเวลาที่ดีได้ในเร็ววัน เพื่อทวงคืนความเป็นหนึ่งในคู่ปรับที่ดุเดือดที่สุดในโลกฟุตบอลให้กลับมาอีกครั้ง

UFABETWIN